จังหวัดนครสวรรค์
 
www.nakhonsawan.go.th
 
   
วิสัยทัศน์จังหวัด : จังหวัดนครสวรรค์ศูนย์กลางการผลิต การค้าข้าวและสินค้าเกษตร
เมืองแห่งการศึกษา มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติ สังคมมีความเข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Untitled Document
  หน้าหลัก
  ข้อมูลด้านสังคม
ประชากร
การนับถือศาสนา
การศึกษา
การสาธารณสุข
อาชญากรรม
ยาเสพติด
  สังคมสงเคราะห์
สังคมสงเคราะห์
  โครงสร้างพื้นฐาน
ไฟฟ้า
ประปา
การคมนาคม
  ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด
รายได้ประชากร
เกษตรกรรม
การอุตสาหกรรม
เหมืองแร่
การพาณิชย์
แรงงาน
การใช้/ถือครองที่ดิน
ตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.) ปี 52
 
   

 


ข้อมูลเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและสังคม
  การคมนาคม
 
     จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินสายเอเชีย 237 กิโลเมตร
     จังหวัดนครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่เป็นประตูสู่ภาคเหนือ การเดินทางติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ นับได้ว่าสะดวกมาก เส้นทางการติดต่อทางถนนระหว่างจังหวัดต่าง ๆ มีเส้นทางสายหลัก ๆ ดังนี้ 1) การคมนาคมทางรถยนต์

ทางหลวงแผ่นดิน
     1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จากกรุงเทพฯ ผ่านนครสวรรค์ไปสิ้นสุดที่เชียงราย เป็นเส้นทางสายหลักและสายดั้งเดิมที่ใช้ในการคมนาคมเชื่อมระหว่างภาคเหนือกับภาคกลาง เส้นทางสายนี้ส่วนใหญ่เป็นเส้นทาง 2 เลน ขณะนี้ถนนช่วงนครสวรรค์ – กำแพงเพชร เป็น 4 เลนแล้ว กำลังมีการขยายไปถึงจังหวัดเชียงใหม่
     2. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 32 (บางปะอิน – นครสวรรค์) เป็นเส้นทางหลวงแผ่นดินที่แยกออกจากเส้นทางหมายเลข 1 เริ่มจากอำเภอปางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลัดสู่นครสวรรค์ เส้นทางสายนี้เป็นเส้นทาง 4 เลน ทำให้การเดินทางสู่จังหวัดนครสวรรค์สะดวกและรวดเร็วมาก ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง ในระยะทาง 237 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ถึงนครสวรรค์ เส้นทางนี้ประสานต่อกับเส้นทางหมายเลข 1 ที่จังหวัดนครสวรรค์มุ่งสู่จังหวัดเชียงราย
     3. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 เป็นทางหลวงที่แยกจากเส้นทางหมายเลข 32 (อินทร์บุรี – เขาทราย) ตรงอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ผ่านอำเภอตากฟ้า ท่าตะโก    หนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เข้าสู่จังหวัดพิษณุโลก ไปสิ้นสุดที่จังหวัดเชียงใหม่ ตามเส้นทางสายนี้มีถนนเชื่อมเข้าตัวอำเภอไพศาลี ตาคลี ท่าตะโก อำเภอเมืองฯ และอำเภอชุมแสง และมีถนนเครือข่ายเชื่อมอำเภอต่าง ๆ ที่กล่าวด้วย
     4. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดพิษณุโลก โดยผ่านทางอำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอบรรพตพิสัย ออกทางอำเภอโพทะเลของจังหวัดพิจิตร  ไปสู่จังหวัดพิษณุโลก ทำให้การติดต่อไปยังจังหวัดพิษณุโลกและพิจิตรสะดวกและรวดเร็วขึ้นมาก (ระยะทางประมาณ 131 กิโลเมตร)
     5. ทางหลวงแผ่นดิน 225 (นครสวรรค์ – ชัยภูมิ) เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างนครสวรรค์กับจังหวัด   ต่าง ๆ ทางภาคอีสาน เส้นทางนี้ผ่านทางอำเภอชุมแสง อำเภอหนองบัว ตัดผ่านเส้นทางหลวงหมายเลข 11, 21 ที่อำเภอหนองบัว อำเภอบึงสามพัน (จังหวัดเพชรบูรณ์) สู่จังหวัดชัยภูมิ

การเดินทางติดต่อกับจังหวัดข้างเคียง มีเส้นทางเชื่อมต่อผ่านอำเภอต่างๆ มากมาย พอสรุป เป็นหลักใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
                1. กรุงเทพฯ (ผ่านสระบุรี – ลพบุรี – ชัยนาท) ตามเส้นทางหมายเลข 1
                2. กรุงเทพฯ (ผ่านบางบัวทอง – สุพรรณบุรี – ชัยนาท) ตามเส้นทางหมายเลข 340 เข้าสู่ เส้นทางหมายเลข 1 ชัยนาท ผ่านเข้าพยุหะคีรี หรือเส้นทางสายเอเชีย (บางปะอิน – นครสวรรค์) ตามเส้นทางหมายเลข 32
                3. ชัยนาท – อำเภอเมืองนครสวรรค์ ประมาณ 60 กิโลเมตร
                4. อุทัยธานี – อำเภอเมืองนครสวรรค์ ผ่านทางอำเภอโกรกพระ (หมายเลข 3220 และ 3005) ประมาณ 36 กิโลเมตรผ่านทางถนนสายเอเชีย (หมายเลข 333 และ 32) ประมาณ 47 กิโลเมตร
                5. พิษณุโลก – อำเภอเมืองนครสวรรค์ ประมาณ 131 กิโลเมตร
                6. พิจิตร – อำเภอเมืองนครสวรรค์ ประมาณ 110 กิโลเมตร
                7. สุพรรณบุรี (ผ่านถนนหมายเลข 340) ประมาณ 155 กิโลเมตร
                8. สิงห์บุรี (ผ่านถนนเอเชีย หมายเลข 32) ประมาณ 95 กิโลเมตร
                9. ลพบุรี (ผ่านถนนเอเชีย หมายเลข 32) ประมาณ 135 กิโลเมตร
                10. กำแพงเพชร (ผ่านถนนพหลโยธิน หมายเลข 1) ประมาณ 120 กิโลเมตร
                11. ตาก (ผ่านถนนพหลโยธิน หมายเลข 1) ประมาณ 180 กิโลเมตร
                12. เพชรบูรณ์ (ผ่านทางถนนหมายเลข 225 และแยกเข้าถนนหมายเลข 21) ประมาณ 192 กิโลเมตร
                แม้ว่าหมู่บ้านส่วนใหญ่ในจังหวัด จะมีการคมนาคมทั่วถึงก็จริง แต่ถนนส่วนใหญ่ยังมีส่วนที่เป็นลูกรังอยู่เป็นช่วง ๆ ทำให้เกิดความไม่สะดวกในฤดูฝน

2) คมนาคมทางรถไฟ จังหวัดนครสวรรค์ มีเส้นทางรถไฟผ่านตัวอำเภอต่างๆ  ดังนี้
                อำเภอตาคลี มีขบวนรถผ่านเที่ยวขึ้น – เที่ยวล่อง วันละ 11 ขบวน
                อำเภอเมือง มีขบวนรถผ่านเที่ยวขึ้น – เที่ยวล่อง วันละ 16 ขบวน
                อำเภอชุมแสง มีขบวนรถผ่านเที่ยวขึ้น – เที่ยวล่อง วันละ 11 ขบวน
3) การคมนาคมทางน้ำ                กรมเจ้าท่า ได้ลงทุนสร้างท่าเรือที่บริเวณเกาะบางปรอง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2528 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่รัฐมีนโยบายด้านการพัฒนาการขนส่งทางน้ำเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง กรมเจ้าท่าในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้ทำการขุดลอกร่องน้ำจากกรุงเทพฯ ถึงนครสวรรค์ และจากนครสวรรค์ถึงอำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร และจัดสร้างสถานีขนส่งสินค้าทางน้ำขึ้นทั้งสองแห่ง (ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร) ใช้งบประมาณ 253 ล้านบาท
                การสร้างได้แล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2531 แต่มีปัญหาด้านการประมูล เนื่องจากการกำหนดราคาค่าเช่าแพง ไม่มีผู้ประมูลเข้าดำเนินการ ทิ้งให้ร้างไว้ถึง 2 ปี เมื่อปรับค่าเช่าใหม่ ผู้ที่ได้รับการประมูล คือ บริษัทเจ้าพระยาสากล เวลาในการประมูล 20 ปี เริ่มดำเนินธุรกิจตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2534 โดยมี นายทรง องค์ชัยวัฒนะ เป็นผู้บริหาร การบริการใช้เป็นตลาดกลางสินค้าทางการเกษตร (ข้าวและพืชไร่)

4) การคมนาคมทางอากาศ

                จังหวัดนครสวรรค์ ไม่มีสนามบินพาณิชย์ มีแต่สนามบินของกองบิน 4 อำเภอตาคลี ซึ่งเดิมเคยใช้เป็นสนามบินของกองทัพอเมริกัน ที่มีศักยภาพสูงสำหรับเครื่องบินไอพ่น และสนามบินเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศักยภาพของสนามบินเหล่านี้สามารถปรับเป็นสนามบินพาณิชย์ได้


ข้อมูลนกบึงบอระเพ็ด
   
กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์
ถ.สวรรค์วิถี ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์
โทรศัพท์ / โทรสาร 0-5680-3600-4 มท. 15429
  Information Data and Communication Division Office of
Nakhon Sawan Provincial Sawanvitee Rd., Tumbol Nakhonsawantok, Muang
District, Nakhonsawan Tel./Fax. 0-5680-3600-4
Powered by :Academic Resources and Information Teachnology Center : Nakhon Sawan Rajabhat University
E-Mail : comcenter@nsru.ac.th