สถานการณ์โดยทั่วไป
|
|
จังหวัดนครสวรรค์เป็นเส้นทางสำคัญที่มีความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ลักลอบลำเลียงยาเสพติด ผ่านจากภาคเหนือไปสู่ภาคกลาง กรุงเทพ ปริมณฑล และภาคอื่นๆ ของประเทศ ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ มีการค้าและเสพ ผู้ค้าส่วนใหญ่เป็นรายย่อย แต่ปัญหายังสามารถควบคุมได้
|
|
|
สถานการณ์ยาเสพติด |
|
ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในจังหวัดยังไม่ปรากฏว่ามีแหล่งผลิตหรือแหล่งพักยาเสพติดแต่อย่างใด แต่ยังคงมีผู้ลักลอบเสพและค้ารายย่อยอยู่ในบางพื้นที่ ยาเสพติดที่แพร่ระบาดเป็นยาบ้าซึ่งลำเลียงมาจากภาคเหนือ ไอซ์ ยาเคมาจากกรุงเทพฯ กัญชามาจากทางภาคอีสาน การขนย้ายยาเสพติด ทำโดยวิธีการจ้างบุคคลลำเลียงมาทางรถโดยสารประจำทางเส้นทางสายถนนพหลโยธินทำการซุกซ่อนตามตัวรถหรือพื้นที่ว่างของรถยนต์หรือใช้วิธีซุกซ่อนมาภายในตัวบุคคล สถานการณ์การแพร่ระบาดในหมู่บ้าน / ชุมชนลดลงเนื่องจากมีการจัดทำประชาคมหมู่บ้านจัดกิจกรรมรณรงค์อย่างต่อเนื่อง และหากพบผู้เสพ / ผู้ติดได้นำเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาตามขั้นตอน สำหรับในสถานศึกษายังคงพบการแพร่ระบาดของยาเสพติดบ้างแต่มีจำนวนน้อย ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นการสูบบุหรี่และดื่มสุรา ส่วนในสถานประกอบการยังไม่พบการแพร่ระบาดของยาเสพติด |
|
|
ข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติด |
|
|
- การค้า มีการค้ายาเสพติด ส่วนมากเป็นยาบ้า และมีไอซ์ ยาอี บ้างเล็กน้อยในพื้นที่เขตชุมชนเมืองพื้นที่การแพร่ระบาดของยาเสพติดอยู่ในเขต อำเภอตาคลี อำเภอลาดยาว อำเภอเมืองฯ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอตากฟ้า อำเภอไพศาลี อำเภอแม่เปิน อำเภอชุมตาบง |
|
|
- การเสพ สารเสพติดที่ผู้เข้ารับการบำบัดใช้เป็นยาบ้า สารระเหย กัญชา โดยเป็นเพศชาย มากกว่าเพศหญิง อายุระหว่าง ๑๕ ๒๔ ปี โดยส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง ผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร นักเรียน/นักศึกษา ตามลำดับ |
|
|
- ตัวยา ยาเสพติดที่แพร่ระบาด ยาบ้า สารระเหย กัญชา และไอซ์ ยาอีเล็กน้อย ราคายาเสพติดประเภทยาบ้า ประมาณ ๒๐๐-๒๕๐ บาท/เม็ด |
|
|
การลำเลียงยาเสพติด |
|
|
- โดยการค้ายาเสพติดมีการลำเลียง ๓ เส้นทาง ดังนี้
(๑) จากจังหวัดตาก โดยเฉพาะอำเภอแม่สอด เข้าสู่จังหวัดกำแพงเพชร ทางหลวงหมายเลข ๑ และเข้ามายัง จังหวัดนครสวรรค์ทาง อำเภอบรรพตพิสัย อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอโกรกพระและอำเภอพยุหะคีรี เข้าสู่กรุงเทพและปริมณฑล
(๒) จากจังหวัดพิษณุโลก เข้าสู่จังหวัดพิจิตร ทางหลวงหมายเลข ๑๑๗ และเข้ามายังจังหวัดนครสวรรค์ทางอำเภอเก้าเลี้ยว และอำเภอพยุหะคีรี เพื่อเข้าสู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล
(๓) จากจังหวัดพิจิตรเข้าสู่จังหวัดเพชรบูรณ์ ทางหลวงหมายเลข ๑๑ และเข้ามายังจังหวัดนครสวรรค์ ทางอำเภอหนองบัว อำเภอไพศาลี อำเภอตากฟ้าและอำเภอตาคลี เพื่อเข้าสู่กรุงเทพและปริมณฑล
|
|
|
กลุ่มบุคคล/พื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ |
|
|
กลุ่มบุคคล ได้แก่ นักเรียน / นักศึกษา ระดับอาชีวศึกษา / เทคนิค, กลุ่มอาชีพรับจ้าง / ผู้ใช้แรงงาน, เยาวชนนอกสถานศึกษา และผู้ว่างงานที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
เป้าหมายพื้นที่ ได้แก่ อำเภอเมือง (ต.ปากน้ำโพ , ต.หนองกระโดน , ต.นครสวรรค์ตก, ต.นครสวรรค์ออก, ต.หนองปลิง) อำเภอตาคลี , อำเภอลาดยาว , อำเภอพยุหะคีรี , อำเภอตากฟ้า , อำเภอไพศาลี , อำเภอแม่เปิน, อำเภอชุมตาบง โดยวิเคราะห์จากผลการดำเนินการจับกุมคดียาเสพติด และการนำผู้เสพ / ผู้ติดเข้ารับการบำบัดรักษา การข่าวในพื้นที่ การประชาคม การแจ้งเบาะแส / ร้องเรียน
|
|
|
นโยบายเน้นหนัก ปี ๒๕๕๘ |
|
|
|
|
๑. การเสริมสร้างหมู่บ้าน / ชุมชนเข้มแข็งเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืนและขับเคลื่อนงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ / ชุมชนต้นแบบตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง
๒.การบูรณาการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (ศูนย์ขวัญแผ่นดิน)
๓. การติดตามดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ แบบครบวงจร เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีงาน / อาชีพทำ หาเลี้ยงครอบครัวได้ ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด / อบายมุข และสามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างปกติสุข
๔. การขับเคลื่อนโครงการ TO BE NUMBER ONE ทุกประเภท ซึ่งจะมีการดำเนินการควบคู่กับไปทั้งในหมู่บ้าน / ชุมชน สถานศึกษา สถานประกอบการ และจังหวัด TO BE NUMBER ONE เพื่อเป็นการเน้นการป้องกันมิให้มีผู้ค้า / ผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดรายใหม่
๕. การสืบสวน / สอบสวน / จับกุม / ปราบปรามนักค้ายาเสพติดเครือข่ายรายสำคัญ และการขยายผล ด้านทรัพย์สินของผู้ต้องหาคดียาเสพติด
๖. การจัดระเบียบสังคมสถานประกอบการทุกประเภท / แหล่งมั่งสุม / สวนสาธารณะ / แก๊งค์ กลุ่มเสี่ยงต่างๆ ในพื้นที่ |
|
|
ข้อเสนอแนะ |
|
|
นโยบายการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล และกระทรวงมหาดไทย ที่จังหวัดนครสวรรค์ ให้ความสำคัญมาโดยตลอด และถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการแบบเข้มข้น / จริงจัง / ต่อเนื่อง เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดของยาเสพติด และมิให้ยาเสพติดกลับมามีการแพร่ระบาดที่รุนแรง โดยในด้านการดำเนินงาน นั้น ได้ยึดเป้าหมายพื้นที่หมู่บ้าน / ชุมชนและเป้าหมายบุคคลเป็นตัวตั้งในการดำเนินงาน ซึ่งทำให้บรรลุผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมตามเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งยังเน้นด้านการประชาสัมพันธ์มากขึ้น เพื่อเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการเข้ามามีบทบาท ร่วมป้องกันแก้ไข/เฝ้าระวังปัญหายาเสพติด และสร้างความพึงพอใจ / ความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่
|
|
|