|
|
|
|
|
ข้อมูล : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มีนาคม 2549 |
|
|
|
|
ชนิดป่าไม้ของจังหวัดนครสวรรค์ เป็นป่าเญจพรรณ (Mixed
Deciduous forest) ป่าดงดิบ (Evergreen forest) และป่าเต็งรัง
(Deciduous dipterocarp forest) พันธุ์ไม้มีค่าทางเศรฐกิจที่สำคัญ
ได้แก่ ไม้สัก (Tectona grandis) ที่มีอยู่ในป่าเบญจพรรณ
ท้องที่อำเภอแม่วงก์และกิ่งอำเภอแม่เปิน นอกจากนี้ยังมีไม้มีค่าทางเศรษฐกิจชนิดอื่นอีก
เช่น ไม้ยาง มะค่าโมง ตะเคียนทอง แดง ประดู่ เสลา
กระบาก เต็ง รัง เหียง หลวง ฯลฯ
2)
พืชพรรณไม้
พืชพรรณไม้ธรรมชาติในท้องที่จังหวัดนครสวรรค์ประกอบด้วย
สังคมพืชป่าที่ขึ้นอยู่ในป่าชนิดต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ป่าดงดิบเขา พันธุ์ไม้ที่พบได้ส่วนมากเป็นต้นไม้วงศ์ไม้ก่อ
(Falaceae) ได้แก่ก่อเคือบ (Castanoosis acuminatissima)
ก่อลิ้น (Chndica) ก่อหนาม (O castate) นอกจากนี้ยังมีไม้ชนิดอื่น
ๆ ที่เป็นไม้เด่น เช่น กะเพราต้น (Cinnamomum ners)
จำปาป่า (Michelia champaca) อบเชย (Cinnamomum ners)
เหมือดคน (Helicia rubusta) และดำดง (Diospyros variegata)
เป็นต้น และตามบริเวณลำต้น และกิ่งของต้นไม้ใหญ่ต่าง
2.2 ป่าดงดิบแล้ง พันธุ์ไม้ที่อยู่ในป่าชนิดนี้ที่เป็นไม้เรือนยอดเด่น
ซึ่งเป็นไม้ในวงศ์ยาง (Dipterocarpacaae) ได้แก่ ยางแดง
(Dipterocarpus turbinatus) ยางนา (D. alatus) กระบาก
(Anisopteracostata) พะยอม (Shorea talura) มะหาด
(Artocarpus lakoocha) กระบากลัก (Hydnoanous) พลวง
(Mimecyion spp) และลำดวน (Melodorum irutoosum) สังคมป่าดงดิบแล้งมีไม้ผลให้รับประทานหลายชนิดและเป็นอาหารของสัตว์ในพื้นที่
เช่น ลำใยป่า (Paranephelium longifoliolstum) คอแลน
(Nephellum hypoleuom) และมะไฟป่า (Baccaurea sapida)
2.3 ป่าเบญพรรณ พันธุ์ไม้ที่สำคัญที่พบในป่าชนิดนี้
เป็นไม้มีค่าทางเศรฐกิจหลายชนิด ได้แก่ ไม้สัก (Teetona
grandis) มะค่าโมง (Afzeila xyikoooaroa) ประดู่ (Pterocamous
macrocarpus) ซิงชัง (Dalbergia oever) แดง (Xylia
kerri) ช้อ (Gmeliana arborea) และเสลา (Lagerstroemia
foudoni) และนอกจากนี้ ยังมีไม้พื้นล่างซึ่งเป็นไผ่ชนิดต่าง
ๆ ขึ้นอยู่ได้แก่ ไผ่ป่า (Bambusa arundinaceae) ไผ่ไร่
(Giganixxhioe albociliata) ไผ่ซางนวล (Dendrocalamus
strictus) และไผ่รวก (Thysostachys siaminss) เป็นต้น
2.4 ป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้มีค่าที่พบในป่าชนิดนี้ได้แก่
เต็ง (Shores obtusa) รัง (S. siamensis) ยางตราด
(Dipterocanpus macrocarpus) พะยอม (Shorea talura)
มะขามป้อม (Phylanthus embrica) สมอไทย (Terminalia
shebula) ไม้พื้นล่าง ได้แก่ ไผ่เพ็ก (Arundinaria
pussilla) ปรง (Cyca slensia) เป็นต้น
ประเภทป่าไม้ |
พื้นที่ป่า
(ไร่) |
ป่าชุมชน |
3,776 |
ป่าเศรษฐกิจ |
233,081.50 |
ป่าอนุรักษ์ |
279,480 |
รวม |
516,337.50 |
3)
สัตว์ป่า
สัตว์ป่าที่สำรวจพบ ได้แก่ สมเสร็จ (Tapirus indicus)
และเลียงผา (Naemorhedus sumatraensis) ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน
นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าขนาดใหญ่ที่ใกล้จะสูญพันธุ์อีกหลายชนิด
เช่น ช้างป่า กระทิง วัวแดง เสือโคร่ง เสือดาว หมี
และพวกลิง ค่าง ชะนี สัตว์จำพวกนก ได้แก่ นกเหยี่ยว
และนกอินทรีบางชนิด นอกจากนี้ยังพบนกชนิดต่าง ๆ อีกมาก