จังหวัดนครสวรรค์
 
www.nakhonsawan.go.th
 
   
วิสัยทัศน์จังหวัด : จังหวัดนครสวรรค์ศูนย์กลางการผลิต การค้าข้าวและสินค้าเกษตร
เมืองแห่งการศึกษา มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติ สังคมมีความเข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หน้าหลัก
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและสังคม ประจำปี 2555
ข้อมูลเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและสังคม ประจำปี 2556
ข้อมูลเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและสังคม ประจำปี 2557
ข้อมูลทั่วไป
สัญลักษณ์จังหวัดนครสวรรค์
ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิอากาศ
ประวัติความเป็นมา
ด้านบริหารและการปกครอง
วิสัยทัศน์จังหวัด-กลุ่มจังหวัด
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด
เขตการปกครอง
การเลือกตั้ง
ด้านงบประมาณ
ข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณ
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
ทรัพยากรดิน
ทรัพยากรน้ำ
 
   

ข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณ
  ทรัพยากรดิน  
 
   
                   พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดนครสวรรค์เป็นแอ่งตรงกลาง ยกตัวสูงขึ้นไปทางทิศตะวันตกและ ทิศตะวันออก ดินที่เกิดขึ้นจากวัตถุต้นกำเนิดในลักษณะหรือสภาพพื้นที่ประเภทต่าง ๆ กัน ซึ่งพอจะแบ่งออกได้เป็น 8 ประเภท คือ

                   ที่ราบน้ำท่วมถึง (Flood Plain) เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนกลางของพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เป็นผลจากการไหลของน้ำตะกอนที่มีเนื้อหยาบจะอยู่ใกล้ลำน้ำทำให้เกิดสันริมน้ำตะกอนเนื้อละเอียดถูกพัดพาไปในที่ลุ่ม (River Basin) ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลาง ส่วนใหญ่จะใช้ประโยชน์ในการทำนา และปลูกไม้ผลต่าง ๆ ในบริเวณสันริมน้ำ

                   ลานตะพักลำน้ำกลางเก่ากลางใหม่ (Semi Fecent Terrace) เป็นบริเวณที่มีอายุมากกว่าอยู่สูงกว่าและไกลจากแม่น้ำมากกว่าบริเวณที่ราบน้ำท่วมถึง น้ำจากแม่น้ำท่วมไม่ถึง พบเป็นบริเวณกว้างทางตอนเหนือของอำเภอบรรพตพิสัย อำเภอท่าตะโก ทางทิศตะวันออกของอำเภอหนองบัว และบริเวณตอนกลางของอำเภอลาดยาว ดินบริเวณนี้จึงมีวัตถุต้นกำเนิดมาจากตะกอนที่มีเนื้อละเอียดหรือปานกลาง พื้นที่บริเวณนี้ใช้ประโยชน์ในการทำนาในที่ลุ่มและปลูกพืชไร่บนที่ดอน

                   ลานตะพักลำน้ำระดับต่ำ (Low Terrace) เป็นบริเวณที่มีอายุมากกว่าที่ราบน้ำท่วมถึง และลานตะพักลำน้ำกลางเก่ากลางใหม่ ปัจจุบันใช้ประโยชน์ในการทำนา ซึ่งบางบริเวณเปลี่ยนสภาพมาจากป่าแดง และบางส่วนที่ยังคงเป็นสภาพป่าแดงที่เสื่อมโทรมอยู่ พบในเขตอำเภอหนองบัว อำเภอไพศาลี

                   ลานตะพักน้ำระดับสูง (High Terrace) เป็นบริเวณที่เกิดจากการทับถมของตะกอนจากลำน้ำเก่าที่มีอายุมากที่สุด ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอหนองบัวและอำเภอไพศาลี การระบายน้ำอยู่ในระดับดีถึงดีมาก ความอุดมสมบุรณ์ต่ำ ในปัจจุบันถูกใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชไร่ เป็นป่าเสื่อมโทรมและที่รกร้างว่างเปล่า

                   เเนินตะกอนรูปพัดติดต่อกัน (Coalescing Fans) เกิดจากน้ำของลำห้วยและลำธารต่าง ๆ ที่พัดพาเอาตะกอนมาทับถมในบริเวณปากทางของหุบเขาต่าง ๆ พบเป็นบริเวณกว้างทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอลาดยาวซึ่งมีเทือกเขาสูงและมีลำห้วยมาก ลักษณะของดินส่วนใหญ่เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนเหนียวปนกรวด มีการระบายน้ำดี ความอุดสมบูรณ์ ค่อนข้างต่ำ ปัจจุบันถูกใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชไร่ และบางส่วนเป็นป่า

                   ลานตะพักปูนมาร์ล (Mid Terrace) พบเป็นบริเวณกว้างอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงไต้ของจังหวัดนครสวรรค์ บริเวณเขตอำเภอตาคลี อำเภอตากฟ้า ลักษณะดินมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินร่วนเหนียว ดินร่วน ดินเหนียวปนกรวดหิน การระบายน้ำดี ความอุดมสมบูรณ์สูงปัจจุบันใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชไร่

                   พื้นที่ผิวที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน (Disseoted Erosion Surface) บริเวณนี้มีการปรับพื้นที่ให้ราบเรียบลง โดยการชะล้างพังทลายของหินพื้นฐานต่าง ๆ ลักษณะของดินมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวดินร่วมเหนียว ดินร่วนดินเหนียวปนกรวดหิน การระบายน้ำดี ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลางถึงสูง ปัจจุบันถูกใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชไร่

                   ภูเขา (Mountain) เป็นบริเวณที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 พบมากทางด้านทิศตะวันตกของจังหวัดเขตติดต่อกับจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดตากทางด้านตะวันออก ซึ่งส่วนใหญ่ดินบริเวณนี้เนื้อดินมีลักษณะเป็นดินร่วนดินเหนียวและดินเหนียว ที่มีการระบายน้ำได้ดีในปัจจุบันมีบางส่วนยังคงมีสภาพเป็นป่าไม้ ซึ่งมีลักษณะหินโผล่อยู่โดยทั่วไปและบางส่วนถูกบุกรุกทำลายใช้เพาะปลูกพืชไร่

                   แร่ธาตุ จากสภาพธรณีวิทยาที่พบบริเวณที่มีหินมีอายุเก่าแก่มากของจังหวัดนครสวรรค์ จะเป็นทิวเขา แร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะจำกัดอยู่เฉพาะในทิวเขาทางทิศตะวันตกของจังหวัด และมีแร่กระจัดกระจายอยู่ทางตอนกลางและทิศตะวันออกบ้างแหล่งแร่เศรษฐกิจที่พบแล้ว ในจังหวัดนครสวรรค์มี ดังนี้


                  จากลักษณะทางธรณีของจังหวัดนครสวรรค์ พบว่าโอกาสที่จะพบแหล่งแร่เศรษฐกิจ

 
 
  • แร่ยิปซัม (Gypsum) พบที่อำเภอหนองบัว มีปริมาณการผลิตถึงร้อยละ 69.2 ขอภาคเหนือ หรือร้อยละ 22.5 ของประเทศ ลักษณะการใช้แร่ยิปซัมถูกนำไปใช้เพื่อการผลิตปูนซีเมนต์ (Portland Cement) เป็นส่วนใหญ่แผ่นยิปซัมอัด (Gypsum Board)
  •  

     
     
  • แร่เหล็ก (Icon) พบที่ตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี (ทำการการผลิตแล้ว) และเขาบ่อเหล็ก เขาบ่อแก้ว อำเภอพยุหะคีรี การผลิตแร่เหล็กในจังหวัดมีปริมาณลดลงในปัจจุบัน
  •  

     
     
  • หินอ่อน (Marble) พบที่อำเภอบรรพตพิสัย การผลิตหินอ่อนเพิ่งเริ่มดำเนินการผลิตใน พ.ศ.2523 เพียง 100ตัน ปริมาณการผลิตหินอ่อนเพิ่มขึ้นทุกปี เพราะมีความนิยมนำหินอ่อนไปประดับที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานเพิ่มมากขึ้น ขนาดการผลิตในจังหวัดยังคงเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กมีโรงงานผลิตหินอ่อนและหินแกรนิต 3 แห่ง ขนาดเงินทุนรวม 176.8 ล้านบาท
  •  

     
     
  • หินแกรนิต (Granite) พบที่อำเภอบรรพตพิสัย การผลิตหินแกรนิตในจังหวัดนครสวรรค์มีการผลิตครั้งแรกใน พ.ศ.2534 ปริมาณผลผลิต 500 ตัน ลักษณะการใช้เช่นเดียวกับหินอ่อน คือนำไปใช้ประดับอาคารและที่อย่อาศัย
  •  

     
     
  • ดินมาร์ล (Marl) หรือดินสอพอง พบที่อำเภอตาคลี
  •  

     
     
  • หินปูน (Limestone) กระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัด จังหวัดนครสวรรค์เป็นแหล่งผลิต หินปูน แหล่งเดียวของภาคเหนือ ลักษณะการใช้ส่วนใหญ่หินปูนถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ สำหรับอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่นำแร่หินปูนไปใช้ คือ อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมแคลเซียม คาร์ไบด์ อุตสาหกรรมเครื่องหนัง และอุตสาหกรรมปูนขาว
  •  

     
     
  • ทราย (Sand) มีอยู่ทั่วไปตามบริเณลุ่มแม่น้ำปิง
  •  
     
    Information Data and Communication Division Office of Nakhon Sawan Provincial Sawanvitee Rd., Tumbol Nakhonsawantok,
    Muang District, Nakhonsawan Tel./Fax. 0-5680-3600-4 E-mail :: nakhonsawan@moi.go.th
    กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์ ถ.สวรรค์วิถี ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ โทรศัพท์ / โทรสาร 0-5680-3600-4 มท. 15429