จังหวัดนครสวรรค์
 
www.nakhonsawan.go.th
 
   
วิสัยทัศน์จังหวัด : จังหวัดนครสวรรค์ศูนย์กลางการผลิต การค้าข้าวและสินค้าเกษตร
เมืองแห่งการศึกษา มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติ สังคมมีความเข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หน้าหลัก
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและสังคม ประจำปี 2555
ข้อมูลเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและสังคม ประจำปี 2556
ข้อมูลเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและสังคม ประจำปี 2557
ข้อมูลทั่วไป
สัญลักษณ์จังหวัดนครสวรรค์
ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิอากาศ
ประวัติความเป็นมา
ด้านบริหารและการปกครอง
วิสัยทัศน์จังหวัด-กลุ่มจังหวัด
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด
เขตการปกครอง
การเลือกตั้ง
ด้านงบประมาณ
ข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณ
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
ทรัพยากรดิน
ทรัพยากรน้ำ
 
   

ข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณ
  ทรัพยากรน้ำ
 
   
                   ทรัพยากรน้ำของจังหวัดนครสวรรค์ได้มาจากแหล่งที่สำคัญ ๆ 3 แหล่ง คือ แหล่งน้ำผิวดิน แหล่งน้ำใต้ดิน และแหล่งน้ำชลประทาน ดังนี้

1) แหล่งน้ำผิวดิน
                   แหล่งน้ำผิวดิน ได้แก่ น้ำในแม่น้ำและลำห้วยลำคลองสายต่าง ๆ ซึ่งมีต้นกำเนิดจากภูเขาทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของจังหวัด มีต้นกำเนิดจากที่อื่นแล้วไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ แม่น้ำสายใหญ่ที่มีประโยชน์และมีความสำคัญต่อความเป็นอยู่และเศรษฐกิจของประชากร ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิง และแม่น้ำน่าน นอกนั้นเป็นลำน้ำสายเล็ก ซึ่งส่วนใหญ่จะไหลลงสู่แม่น้ำดังกล่าวเกือบทั้งสิ้น ดังนั้น แหล่งน้ำผิวดินในจังหวัดนครสวรรค์ที่สำคัญ ๆ จึงได้แก่
  1. แม่น้ำเจ้าพระยา เกิดจากการไหลมารวมกันของแม่น้ำปิง และแม่น้ำน่านที่บริเวณปากน้ำโพ ในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ แล้วไหลลงทางทิศใต้สู่ภาคกลางตอนใต้และออกสู่ทะเลที่อ่าวไทยเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่มีประโยชน์ทั้งทางด้านการเกษตร การคมนาคม การอุตสาหกรรม การอุปโภคบริโภค ของบริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำมาเป็นเวลาช้านานแล้ว และยังเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญอีกด้วย
  2. แม่น้ำปิง เป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาภาคเหนือ ไหลผ่านท้องที่อำเภอบรรพตพิสัย อำเภอเก้าเลี้ยว มาบรรจบกับแม่น้ำน่านเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณตำบลปากน้ำโพ เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญอีกสายหนึ่ง ทั้งในด้านการเกษตรอุตสาหกรรม การอุปโภคบริโภคของประชากรบริเวณสองฝั่งแม่น้ำ
  3. แม่น้ำน่าน เป็นลำน้ำสายใหญ่ มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาผีปันน้ำ จังหวัดน่าน ไหลผ่านจังหวัดสำคัญ คือ พิษณุโลก พิจิตร และผ่านทองที่อำเภอชุมแสง เข้าอำเภอเมืองนครสวรรค์ ก่อนมาบรรจบกับแม่น้ำปิง ที่ตำบลปากน้ำโพ เป็นแหล่งน้ำที่ใช้ประโยชน์ทั้งด้านการเกษตร การคมนาคม การอุปโภคบริโภค
  4. แม่น้ำยม ต้นกำเนิดจากเทือกเขาในจังหวัดแพร่ ไหลผ่านจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดกำแพงเพชร ในภาคเหนือลงมาจนบรรจบกับแม่น้ำน่าน ที่ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง สามารถใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรและการอุปโภคบริโภคของประชากรบริเวณสองฝั่งแม่น้ำได้เป็นอย่างดี
  5. ลำแม่น้ำวงก์ ต้นกำเนิดจากเทือกเขาสูงจังหวัดตาก ไหลผ่านทางอำเภอลาดยาว ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดนครสวรรค์ เป็นแม่น้ำวังม้าไหลลงสู่แม่น้ำสะแกกรังที่จังหวัดอุทัยธานี สามารถให้ประโยชน์ด้านเพาะปลูกได้ดีและอาจมีปริมาตรน้ำเกิดความต้องการในฤดูฝน ซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วมได้
  6. คลองโพธิ์ มีต้นกำเนิดจากเทือเขาสูงในท้องที่กิ่งอำเภอแม่เปิน ทางด้านทิศตะวันตกของจังหวัดนครสวรรค์ และไหลเลียบเขตจังหวัดมารวมกับลำน้ำแม่น้ำวงก์ในอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี เป็นลำน้ำที่มีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี สามารถใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูกและ การอุปโภคบริโภค
  7. คลองบางไผ่-บางประมุง แยกจากแม่น้ำปิงที่อำเภอบรรพตพิสัย ผ่านตำบล ท่าซุดออกแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางมะฝ่อ อำเภอโกรกพระ
  8. บึงบอระเพ็ด เป็นบึงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีอาณาเขตครอบคลุม 3 อำเภอ ของจังหวัดนครสวรรค์ คือ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอชุมแสง และอำเภอ ท่าตะโก มีเนื้อที่ประมาณ 132,737 ไร่ 56 ตารางวา
                   สำหรับคลองอื่น ๆ ที่มีน้ำไหลตลอดปี น้ำจะมีมากเกินไปจนเกิดความเสียหายในฤดูฝนและน้ำน้อยเกิดไปในฤดูแล้ง จนไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ได้แก่ คลองเกรียงไกร และคลองเกษม ในท้องที่อำเภอเมืองนครสวรรค์ และอำเภอชุมแสง ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำน่าน คลองบอน คลองท่าตะโก และคลองเจ็ดดง ในท้องที่อำเภอท่าตะโก ไหลลงสู่บึงบอระเพ็ด เป็นต้น แต่ทั้งนี้ ลำคลองต่าง ๆ เหล่านี้จะให้ประโยชน์ในด้านเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาที่สำคัญในจังหวัดนครสวรรค์

                   นอกจากลำน้ำสายต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ในท้องที่จังหวัดนครสวรรค์ ยังมีแหล่งน้ำผิวดินในลักษณะเป็นบึงและหนองน้ำอีกหลายแห่งในบริเวณที่ราบลุ่มต่ำตอนกลางของจังหวัด ที่มีขนาดใหญ่ ได้แก่ บึงเสนาท แหล่งน้ำดังกล่าวมีคุณประโยชน์ในด้านการเพาะปลูกน้อย ส่วนใหญ่ใช้ในด้านการอุปโภคบริโภค การเลี้ยงสัตว์ และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำในธรรมชาติที่สำคัญ

2) แหล่งน้ำใต้ดิน
                   การพิจารณาแหล่งน้ำใต้ดินของจังหวัดนครสวรรค์ ต้องดูจากข้อมูลแหล่งน้ำบาดาลในกรวดทรายที่ราบลุ่มหรือที่ลุ่มหลากตะกอนของภาคเหนือ ซึ่งประกอบด้วยชั้นดินเหนียวสลับดินทรายจากแม่น้ำปิง แม่น้ำน่านในลุ่มแม่น้ำแคบ ๆ ขนานไปกับสายลำน้ำกว้างไม่เกิน 30 กิโลเมตร แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ

                   ส่วนแรกอยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งพบชั้นของน้ำ น้ำชั้นแรกอยู่ลึกประมาณ 20 เมตร จากผิวดินชั้นสอง 30-40 เมตร จากผิวดินชั้นสาม 60-70 เมตร และอาจพบอยู่ลึกถึง 120 เมตร จากผิวดิน ชั้นหินที่รองรับข้างใต้เป็นหินพวก Andesile , Limestone , Phylite, Rhyolite

                   ส่วนที่สองอยู่ใต้บึงบอระเพ็ดบริเวณตั้งแต่ตำบลปากน้ำโพ ในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ลงมา พบชั้นน้ำชั้นแรกอยู่ลึกประมาณ 15 เมตร จากผิวดิน ชั้นที่สองประมาณ 33 เมตร จากผิวดิน หินที่รองรับข้างใต้ ได้แก่ หินแปร เขน หินชนวน (Skste) พบความเค็มของน้ำที่อำเภอชุมแสง ซึ่งทางกรมพัฒนาที่ดินคาดคะเนว่าอาจเกิดการทำเหมืองแร่ยิปซั่ม

                   แหล่งน้ำบาดาลในภาคเหนือเป็นแหล่งน้ำบาดาลที่เป็นหินร่วนโดยเฉพาะที่ดินแถบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน (อุตรดิตถ์-นครสวรรค์ ตามลักษณะของธรณีวิทยา จัดอยู่ในแหล่งเจ้าระยาตอนบน สภาพแหล่งน้ำบาดาลที่เป็นหินร่วนบริเวณดังกล่าวให้น้ำมาก)

                   คุณภาพน้ำส่วนใหญ่เป็นน้ำจืด แต่บริเวณนี้มีปริมาณของสารละลายเหล็กอยู่สูง ถ้าจะนำไปใช้บริโภคจำต้องมีวิธีขจัดเหล็กออกเสียก่อน

                   แหล่งน้ำใต้ดินในจังหวัดนครสวรรค์ ไม่สามารถระบุข้อมูลที่ถูกต้องได้ว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด เพราะไม่มีการสำรวจอย่างจริงจัง มีหน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการขุดเจาะเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ตลอดจนการใช้เพื่อการเกษตร ขณะเดียวกันก็มีการขุดเจาะเพื่อการเกษตร ขณะเดียวกันก็มีการขุดเจาะเพื่อการเกษตรโดยเกษตรกรอีกด้วย และล่าสุดก็มีการขุดเจาะบ่อบาดาลระดับตื้น (บ่อตอก) โดยความรับผิดชอบของกรมส่งเสริมการเกษตรอีก 2,900 บ่อ ในเขตอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดนครสวรรค์ ตามนโยบายการณรงค์ พื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง เพื่อลดปัญหาด้านตลาดข้าวและปัญหาการขาดแคลนน้ำ



 
Information Data and Communication Division Office of Nakhon Sawan Provincial Sawanvitee Rd., Tumbol Nakhonsawantok,
Muang District, Nakhonsawan Tel./Fax. 0-5680-3600-4 E-mail :: nakhonsawan@moi.go.th
กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์ ถ.สวรรค์วิถี ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ โทรศัพท์ / โทรสาร 0-5680-3600-4 มท. 15429